ใส่ถุงมือยางทุกครั้งก่อนล้างห้องน้ำ

         น้ำยาล้างห้องน้ำ และเครื่องสุขภัณฑ์ เป็นน้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด โดยโครงสร้างทางเคมีของกรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือนั่นเอง สำหรับแม่บ้านคงทราลดีว่าเป็นน้ำยาที่ออกฤทธิ์ค่อนข้างรุนแรง โดยประโยชน์ของน้ำยาคือ ใช้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคบริเวณพื้นห้องน้ำฝาผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เหมาะสำหรับคราบสกปรกมาก และคราบฝังแน่น

         สำหรับวิธีการใช้ ก่อนใช้ขอแนะนำให้สวมใสอุปกรณ์ป้องกันคือ ถุงมือยาง รองเท้า รวมถึงอุปกรณ์สำหรับการขัด ถู ทำความสะอาด

  1. ใช้ความสะอาด พื้นห้องน้ำ โดยควรที่จะผสมน้ำยากับน้ำในอัตราส่วน 1:2
  2. การทำความสะอาด โถส้วม ควรผสมน้ำยากับน้ำในอัตราส่วน 1:1
  3. หลังทำความสะอาดแล้ว เป็นการฆ่าเชื้อโรค โดยผสมน้ำยากับน้ำในอัตราส่วน 1:2 เทราดลงบนพื้นบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

         การใช้น้ำยาที่เป็นกรด ควรมีการป้องกับไม่ให้น้ำยาโดนผิวหนังควรที่ใส่ถุงมือยางเพื่อป้องกันทุกครั้งตามที่ได้กล่างไว้ข้างต้นแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยจากสารเคมี และการใช้ก็ควรเป็นไปอย่างระมัดระวังมากที่สุด และที่สำคัญคือการเก็บรักษาน้ำยาล้างทำความสะอาด ควรให้ห่างจากมือเด็กด้วย

ถุงมือยาง | Dipping Glove

แม้ถุงมือไนไตรจะมีคุณภาพสูง ใช้งานได้อย่างปลอดภัยก็ตาม แต่ในเมื่อเราต้องใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง เพื่อสุขอนามัยของผู้สวมใส่แล้ว การใช้ถุงมือไนโตรอาจสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปนิดหนึ่ง แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถุงมือก็ต้องใส่แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และต้องใช้งานเป็นประจำ…ไม่ใช้ก็ไม่ได้ วิธีแก้คือ ก็ทำถุงมือใส่เองสิ

ก่อนจะทำถุงมือยางเองแบบง่ายๆ ต้องเตรียมวัตถุดิบ คือ น้ำยางคอมพาวด์จากยางธรรมชาติ บรรจุลงในภาชนะทรงสูง เพราะเราจะทำถุงมือด้วยการจุ่มมือ (Dipping) ของเราลงในภาชนะที่ใส่น้ำยาง ซึ่งเปรียบเสมือนใช้มือของเราเองเป็นแม่พิมพ์ของถุงมือ แคลเซียมคลอไรด์ บีกเกอร์และแป้ง

เราต้องล้างมือให้สะอาด และทำให้มือของเราแห้งสนิทเสียก่อน แล้วเราจึงค่อยเอามือจุ่มแคลเซียมคลอไรด์ ทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นก็จุ่มมือลงในน้ำยาคอมพาวด์รอบแรก ทิ้งไว้ 5 นาทีให้น้ำยางพอเซ็ทตัวในระดับหนึ่ง แล้วจึงจุ่มมือลงในน้ำยาคอมพาวด์ซ้ำอีกชั้นเพื่อเพิ่มความหนา เมื่อน้ำยางแห้ง เราจึงใช้แป้งทาที่ถุงมือยางเพื่อให้เราลอกถุงมือออกจากมือของเราได้สะดวก ไม่ฉีกขาด

ถุงมือที่ได้จากยางธรรมชาติจะมีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อแรงดึงและการฉีดขาด แม้จะเสื่อมสภาพเร็ว หากสัมผัสกับความร้อน ออกซิเจนหรือโอโซน

วิธีการใช้ถุงมือยางที่ถูกสุขลักษณะ

การสวมใส่ถุงมือยาง เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยป้องกันมือไม่ให้สัมผัสกับเลือด สารเคมี สิ่งสกปรก ฯลฯ ได้โดยตรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้ผลิตถุงมือ ซึ่งอาจเป็นฉนวนต่อสารนั้นๆ หรืออาจเป็นพาหะที่ทำปฏิกิริยาให้ถุงมือเสื่อมคุณภาพลงได้

โดยส่วนใหญ่แล้วถุงมือจะผลิตมาจากยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ เพื่อให้มีคุณสมบัติยืดและกระชับสามารถหยิบจับสิ่งของต่างๆ ได้ถนัด ดังนั้นผู้ใช้ควรเลือกซื้อถุงมือยางที่มีขนาดพอเหมาะพอดีกับมือ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน

ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วถุงมือยางที่ใช้กันโดยทั่วไปเมื่อใช้เสร็จจะเป็นชนิดที่ต้องทิ้งเลย ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้นหลังการใช้ความมีวิธีการถอดที่ปลอดภัย ให้ห่างไกลจากเชื้อโรค หรือสารพิษ ดังนี้

  • จับที่ขอบถุงมือ กลับถุงมือให้ด้านในออกมาอยู่ด้านนอก โดยใช้มือข้างที่ยังไม่ได้ถอด ถอดออก
  • ใช้นิ้วมือข้างที่ถอดเสร็จแล้ว สอดเข้าไปที่ถุงมืออีกข้าง เพื่อกลับด้านเอาด้านในออกด้านนอก (ระวังมือสัมผัสกับสารเคมี เพื่อลดอัตราการแพร่เชื้อ)
  • ทิ้งถุงมือลงในถังขยะที่ป้องกันการแผร่เชื้อ
  • ล้างมือด้วยน้ำยาให้สะอาด

สารก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบและการป้องกัน

ในโลกเรามีสารหลากหลายตัวที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่จะทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนังที่ตอนนี้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังโดยสาเหตุเกิดจากสารที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวเมื่อสัมผัสโดยตรง ดังนี้

  • กรด ทั้งในรูปสารละลายเช่นน้ำส้มสายชู
  • ด่าง ในน้ำยาทำความสะอาดพื้นห้อง ห้องน้ำ สารส้ม
  • ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาฟอกขาว รวมทั้งสารทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่มจำพวกสูตรไฮโดรเจนสูตรออกซี่ทั้งหลาย
  • สบู่ สารทำความสะอาด
  • สารเคมีพวกผสมสูตรน้ำมัน เบนซิน ฟอร์มาลิน ยาแดง ด่างทับทิม
  • สารจากพืชธรรมชาติ เช่น ยางมะละกอ ยางมะม่วง สับปะรด กระเทียม แตงกวา ส้ม มะนาว
  • สารจากสัตว์ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำย่อย ขนสัตว์

ซึ่งหากผู้ที่ต้องสัมผัสสารเหล่านี้เป็นเวลานานขึ้นเรื่อย ก็จะทำให้ยิ่งมีอาการที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงสารและทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสเพื่อกำจัดหรือลดปริมาณความเข้มข้นของต้นเหตุลงเพื่อกำจัดสาเหตุของโรค

การป้องกันผิวหนังจากสาร

  • การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ห้ามสัมผัสกับสารที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคือง หรือควรมีการป้องกันโดยการสวมถุงมือยาง เพียงเท่านี้อาการต่างๆก็จะลดลง และควรที่จะดูแลรักษาให้ถูกวิธีด้วย
  • การแพ้ต่อสารจำพวกโลหะ เครื่องสำอาง ยาทาภายนอก เครื่องนุ่งห่ม ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง แต่หากต้องสัมผัสกับสารเพราะเป็นอาชีพ เช่น งานก่อสร้าง หรืองานในโรงงานอุตสาหกรรม คุณควรหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์มาช่วยปกป้องร่างกายระหว่างทำงาน เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง รองเท้าบูท หรือชุดทำงานที่สามารถป้องกันสารที่เป็นอันตรายได้ โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคุณได้น้อยที่สุด